วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

Introduction of Water

ประเภทของแหล่งน้ำ
1.แหล่งน้ำใต้ดิน
  :น้ำที่ซึมลงไปเก็บกักไว้ใต้ผิวดินในชั้นน้ำใต้ดิน
1.1 น้ำในดิน
  :อยู่ในช่วงที่รากต้นไม้ดูดซึมได้ โซนนี้เรียกว่าโซนสัมผัสอากาศ (Zone of Aeration)
1.2 น้ำบาดาล
  :น้ำที่ถูกเก็บไว้ในช่องว่างระหว่างชั้นหิน, ช่องว่างในชั้นดิน โซนนี้เรียกว่า โซนอิมตัวด้วยน้ำ (Zone of saturation)  
2.แหล่งน้ำผิวดิน
  :น้ำที่ถูกเก็บกักไว้บนผิวดิน เช่น แม่น้ำลำคลอง, หนอง, บึง, ทะเลสาบ, อ่างเก็บน้ำ

image

ชั้นหินอุ้มน้ำ (อังกฤษ: Aquifer)
: ภาพตัดขวางแสดงชั้นหินอุ้มน้ำ
น้ำบาดาลเกิดอยู่ในชั้นหินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของชั้นหินที่จะเก็บน้ำไว้จนอิ่มตัวได้ จึงได้แก่ช่องว่างที่เกิดขึ้นในหิน ช่องว่างในหินมีอยู่หลายประเภท เช่น ช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนที่สะสมกันอย่างในกรณีกรวดหรือทราย ช่องว่างอันเป็นรอยต่อระหว่างชั้นต่อของหิน ช่องว่างที่เกิดจากรอยแตกของหิน ช่องว่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พร้อมๆกับการเกิดหินบางชนิด เช่น หินภูเขาไฟ และช่องว่างประเภทโพรงหินปูน เป็นต้น หินที่จะเก็บน้ำได้ดีมีปริมาณมากจะต้องมีจำนวนช่องว่างมาก ช่องว่างแต่ละช่องต้องมีขนาดใหญ่ และติดต่อถึงกันเพื่อให้น้ำบาดาลไหลถ่ายเทได้ หินที่มีช่องว่างขนาดใหญ่แต่ไม่ติดต่อถึงกัน ถึงแม้เก็บน้ำไว้ได้มากก็ไม่มีประโยชน์ในการเป็นแหล่งน้ำบาดาล เพราะเปรียบเหมือนน้ำที่กักขังอยู่ในแอ่งลำธาร ซึ่งน้ำไม่ไหลในฤดูแล้ง น้ำในแอ่งเหล่านี้เมื่อถูกใช้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะหมดไป ไม่เหมือนน้ำในลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปีมีโอกาสที่จะสูบหรือตักไปใช้ได้ตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น