วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำ

1. ความขุ่น (Turbidity)
- เกิดจากสารแขวนลอยที่ทำให้น้ำไม่ใสเช่น ดินโคลน, ทรายละเอียด, สาหร่ายเซลล์เดียว สารเหล่านี้สามารถทำให้แสงเกิดหักเห และอาจดูดแสงเอาไว้มิให้ผ่านทะลุไป จึงทำใหัมองเห็นน้ำมีลักษณะขุ่น หน่วยวัดความขุ่นนั้นบ่งบอกถึงลักษณะ, สี และรูปร่างของอนุภาคสาราที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ

- ความขุ่น 1 ppm (mg/l) = ความขุ่นของน้ำใสสะอาดที่มีซิลิกา (SiO2) อยู่ 1 มิลลิกรัม ในน้ำ 1 ลิตร
- หน่วยวัดความขุ่นที่นิยมใช้กันมากมีอยู่ 3 หน่วย คือ
  JTU : Jack Turbidity Unit
  FTU : Formazin Turbidity Unit
  NTU : Nephelometric Turbidity Unit
# ค่าความขุ่นทั้งสามหน่วยจะให้ค่าเป็นตัวเลขที่เท่ากัน
- ความขุ่นเป็นพารามิเตอร์ที่วัดได้ง่าย จึงนิยมใช้เครื่องวัดประสิทธิภาพของขบวนการหลายประเภท เช่น ขบวนการกรองน้ำ ขบวนการตกตะกอน
- น้ำประปาเพื่อชุมชนไม่ควรมีความขุ่นเกิน 5 หน่วย
2. สี (Color)
- เกิดจากพืช หรือใบไม้ที่เน่าเปื่อย เป็นสารจำเทนนิน และกรดฮิวมิก มักมีสีชา อาจเกิดจากของเสียทั้งหลายที่มีอยู่ในน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งชุมชน
- การที่น้ำในธรรมชาติมีสีผิดปรกติ จะทำให้น้ำไม่ชวนดื่มและไม่น่าวช้ น้ำดื่มไม่ควรมีสีเกินกว่า 20 หน่วย
- สีของน้ำอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1) สีปรากฏ (Apparent Color)
หมายถึง เป็นสีที่เกิดจากสารแขวนลอย มีประจุเป็นลบ กำจัดออกทางวิธีทางกายภาพ เช่น ตกตะกอน หรือกรอง เป็นต้น วิธีการตกตะกอน มักจะใช้เกลือของโลหะ เช่น อลูมิเนียมและเหล็ก หลังจากกำจัดสีปรากฏออกไปจะทำให้เห็นสีแท้ของน้ำ (ถ้ามี)
2) สีแท้หรือสีจริง (True Color)
หมายถึง สีที่ละลายจนกลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ สีแท้เกิดจากการสลายตัวของพืชหรือสารอินทรีย์ ซึ่งอยู่ในรูปคอลลอยค์ และย่อยสลายยากมาก การกำจัดสีแท้ออกจากน้ำจึงทำได้ยาก
3. กลิ่นและรส (Odor and Taste)
- เกิดจาก
1) จุลินทรีย์ต่างๆ เช่น สาหร่าย ไดอะตอม และโปรโตซัว(สาหร่ายมักเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด)
2) ก๊าซต่างๆ ที่ละลายในน้ำ เช่น ก๊าซไข่เน่า หรือ H2S
3) การเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในน้ำซึ่งขาดออกซิเจน
4) น้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม
5) ผลการเติมสารเคมีบางอย่าง เช่น คลอรีน
6) สารอนินทรีย์ละลายในน้ำ เช่น เหล็ก
- ยังไม่มีวิธีมาตรฐานบอกเป็นปริมาณตัวเลขว่ามีกลิ่นและรส ดังนั้นมาตรฐานน้ำดื่มหรือน้ำประปาจึงกำหนดไว้อย่างกว้างๆ ว่าต้องไม่เป็นที่น่ารังเกียจ

4. อุณหภูมิ (Temperature)
น้ำธรรมชาติมักมีอุณหภูมิอยู่ในช่วงปรกติ อย่างไรก็ตามอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของน้ำเปลียนแปลงได้

5. สารหรือของแข็งทั้งหมดในน้ำ (Total Solids)
- ปริมาณสารของแข็งทั้งหมดในน้ำ (สารที่ละลายน้ำและสารที่ไม่ละลายน้ำ) วัดจาก นำน้ำตัวอย่างไปอบที่ 105°C จนน้ำหนักคงที่ ปล่อยให้เย็นแล้ว ชั่งน้ำหนักของตะกอนที่ได้

6. สารหรือตะกอนแขวนลอย (Suspended Solids)
- คือ สารหรือของแข็ง ส่วนที่ไม่ละลายน้ำ และแขวนลอยอยู่ในน้ำทำให้เกิดความขุ่น (Turbidity) ของแข็งเหล่านี้สามารถกรองได้ด้วยกระดาษกรองได้ด้วยกระดาษกรองชนิดใยแก้ว

7. สารหรือของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids)
- TDS หมาย ปริมาณสารทั้งหลายที่ละลายอยู่ในน้ำ อบน้ำที่กรองได้ที่ 105°C จนน้ำหนักคงที่ ปล่อยให้เย็น แล้วชั่งน้ำหนักของตะกอนที่ได้
- น้ำบาดาลมักมี TDS สูงกว่าน้ำผิวดิน เนื่องจากมีโอกาสสัสผัสกับแร่ธาตุปนออกมาด้วย
- น้ำประปาไม่ควรมี TDS เกินกว่า 500 mg/l
- ในบางครั้งค่า TDS อาจประมาณได้ด้วยการวัดระดับความนำทางไฟฟ้า ของน้ำ ซึ่งวัดได้ง่ายกว่าและรวดเร็วกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น